วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Impressionism



อิมเพรสชันนิซึม




อิมเพรสชันนิซึม หรือ ลัทธิประทับใจ (อังกฤษimpressionism) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของโกลด มอแนที่มีชื่อว่า Impression, Sunrise ("Impression, soleil levant" ในภาษาฝรั่งเศส) และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่าหลุยส์ เลอรัว (Louis Leroy) ก็ได้ให้กำเนิดคำคำนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Le Charivari อิทธิพลของอิมเพรสชันนิสม์ ยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและวรรณกรรม


ไฟล์:Camille Pissarro 002.jpg

รูป Impressionism


ผลงานของศิลปินแนว Impressionism   ผลงานของศิลปินแนว Impressionism   ผลงานของศิลปินแนว Impressionism   ผลงานของศิลปินแนว Impressionism

ผลงานของศิลปินแนว Impressionism   ผลงานของศิลปินแนว Impressionism   
ผลงานของศิลปินแนว Impressionism   ผลงานของศิลปินแนว Impressionism
ผลงานของศิลปินแนว Impressionism   ผลงานของศิลปินแนว Impressionism

ผลงานของศิลปินแนว Impressionism   ผลงานของศิลปินแนว Impressionism

ผลงานของศิลปินแนว Impressionism  ผลงานของศิลปินแนว Impressionism

ผลงานของศิลปินแนว Impressionism   ผลงานของศิลปินแนว Impressionism

ผลงานของศิลปินแนว Impressionism   ผลงานของศิลปินแนว Impressionism

Rococo



ศิลปะโรโคโค ( Rococo)


   ศิลปะโรโคโค ( Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปโรโคโคเริ่มพัฒนามาจากศิลปฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโคโคจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน อไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่
หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิดประดอย ภาพขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก


คำว่าโรโคโคมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocailleจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโคโคจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนตัวของใบไม้เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมท่าน คำว่าโรโคโค เมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี ค.ศ.1836 เป็นภาษาพูดที่หมายความว่า โบราณล้าสมัย แต่พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถึงจะมีการถกเถียงกันถึงความสำคัญของศิลปะลักษณะนี้ โรโคโคก็ยังถือกันว่าเป็นสมัยของศิลปะที่มีความสำคัญสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก



Baroque

ศิลปะบาโรก (Baroque)



“การแต่งงานของนักบุญแคทเธอรินแห่งอเล็กซานเดรีย” 
(The Mystic Marriage of St. Catherine)
โดย อันโตนิโอ ดา คอร์เรจจิโอ

บาซิลิกาซุปเปอร์กา (Basilica Superga) ตูริน อิตาลี)

ศิลปะบาโรก(Baroque)

บาโรกจะเน้นความเป็นนาฏกรรม ศิลปะจะแสดงความขัดแย้ง (tension) และความหรูหรา โอ่อ่า บาโรกเป็นลักษณะของ ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม นาฏศิลป์ และ ดนตรี 
ถ้ากล่าวถึงดนตรีแบบบาโรกก็จะหมายถึงสมัยสุดท้ายของเคาน์เตอร์พ็อยท์ (Counterpoint) ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของการเล่นระหว่างเสียงหรือเครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิด 
ที่อาจจะสะท้อนกันและกัน แต่คนละระดับเสียง หรือบางครั้งก็อาจจะสลับเสียงสะท้อน หรือไม่อีกทีก็อาจจะย้อนแก่นสาร (reversing theme) ของดนตรีชิ้นนั้นไปเลย

ความรุ่งเรืองของศิลปะแบบบาโรก ได้รับการส่งเสริมจากสถาบันสถาบันคาทอลิก ระหว่างการประชุมสังคายนาเมืองเทรนต์ เมื่อปี ค.ศ. 1545-1563 ประเด็นหนึ่งที่มีการถกเถียงกันที่นั่นก็คือ เรื่องความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและศาสนา 

  ทางที่ประชุมตกลงกันว่า ศิลปะควรจะสิ่งที่สื่อสารเรื่องศาสนาโดยใช้วิธีจูงใจและสะเทือนอารมณ์ผู้ดูโดยตรง ในขณะเดียวกันชนชั้นสูง (Aristocracy) สมัยนั้นก็เห็นว่าแบบบาโรกเป็นศิลปะที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ดู เป็นศิลปะที่แสดงความถึงความมีอำนาจของเจ้าของ 

  วังแบบบาโรกจะสร้างต่อเนี่องกัน (sequence) จากห้องพักรอ (anterooms) ถึงบันไดใหญ่ (grand staircases) ไปจนถึงห้องรับรองใหญ่ (reception rooms) แต่ละตอนก็เพิ่มความโอ่อ่าขึ้นตามลำดับ 

  รายละเอียดตกแต่งหรูหราและอลังการเช่นนี้ เป็นลักษณะของศิลปะสมัยนี้ ลักษณะเช่นนี้ครอบคลุมศิลปะทุกแขนง ศิลปินบาโรกจะนิยมใช้รายละเอียดใกล้เคียงกัน (repeated and varied patterns) ครั้งแล้วครั้งเล่า 

  แต่ละครั้งจะค่อยๆ แปรเปลี่ยนลวดลายไปทีละเล็กละน้อย ลักษณะของศิลปะแบบบาโรกที่เด่นและแตกต่างจากสมัยอื่นคือ จะออกไปทางที่เรียกกันว่าอลังการ จะเต็มไปด้วยลวดลายประดิดประดอย สีจัด หน้าตารูปปั้นจะไม่จงใจให้เหมือนจริง แต่จะเป็นหน้าอิ่มเอิบเหมือนเทพ

  คำว่าบาโรกสันนิษฐานกันว่ามาจากคำว่า barroco ภาษาโปรตุเกสโบราณ ซึ่งหมายถึงหอยมุกที่มีรูปร่างอ่อนไหวม้วนไปมา แต่ที่มาในภาษาอังกฤษ ไม่ทราบแน่ว่ามาจากภาษาใดหรือจะมาจากแหล่งอื่น

  คำว่าบาโรกเอง นอกจากจะหมายถึงศิลปะที่รุ่งเรืองระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 18 แล้ว ก็ยังหมายถึงความโอ่อ่าที่เต็มไปด้วยรายละเอียด บางครั้งคำนี้อาจจะพูดถึงศิลปะที่มีการตกแต่งจนค่อนข้างจะไปทางอลังการ

วิวัฒนาการ

ศิลปะแบบบาโรกเริ่มมีความนิยมกันครั้งแรก เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากการประชุมแห่งเมืองเทรนต์ ทางที่ประชุมเรียกร้องให้ศิลปินเปลี่ยนแนวคิดในการสร้างศิลปะ 

 โดยให้สร้างจิตรกรรมและประติมากรรมทางศาสนาเพื่อคนไร้การศึกษา เพื่อให้คนเหล่านี้มีความเข้าใจในศาสนา และมีความศรัทธาเพี่มขึ้น แทนที่จะสร้างศิลปะเฉพาะผู้มีการศึกษาเท่านั้น 

   การใช้ศิลปะเพื่อศาสนา มีอิทธิพลเริ่มมาจากผลงานของ การาวัจโจ และ พี่น้องคารัคชี ทั้งสองกลุ่มนี้ทำงานอยู่ที่กรุงโรมในระยะนั้น

   ศิลปะแบบบาโรกแยกตัวจากศิลปะแบบแมนเนอริสม์ ของสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเน้นการประเทืองปัญญา มาเป็นศิลปะที่เน้นทางอารมณ์และความรู้สึก และทางนาฏกรรม (dramatic presentation) 



จุดมุ่งหมายคือ ทำให้ผู้ดูเข้าใจศิลปะได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องตีความหมายที่ศิลปินแอบแฝงเอาไว้ นอกจากเข้าใจแล้วยังเกิดความสะเทือนอารมณ์ เนื้อหาของศิลปะแบบบาโรก มักจะเอามาจากเรื่องของวีระชนต่างๆ เช่น ประวัติพระเยซู หรือนักบุญต่างๆ 



อย่างเช่นผลงานของอันนิบาเล คารัคชี และศิลปินในกลุ่มเดียวกัน คารัคชีซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก การาวัจโจ และ Federico Barocci สองคนหลังนี้ถือว่าอยู่ในกลุ่มโปรโตบาโรก (proto-Baroque) ศิลปินอีก 2 คนที่ถือกันว่ามีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของศิลปะแบบบาโรก คือ ไมเคิล แอนเจโล และ Correggio ด้วย

  เมื่อพูดถึงดนตรีบาโรก ก็จะเป็นดนตรีที่เน้นเคาน์เตอร์พ็อยท์ และความกลมกลืน แทนที่ใช้เครื่องดนตรีอย่างสลับซับซ้อนอย่างออเค้สตร้า ลักษณะนี้ เป็นลักษณะเดียวกับกวีนิพนธ์บาโรก ซึ่งจะเน้นถึงความไม่ซับซ้อน แต่จะเน้นไปทางนาฏกรรม 

   จะเลี่ยงการใช้อุปมาอุปมัยอย่างงานของจอห์น ดัน (John Donne) ซึ่งเป็นงานเขียนแบบแมนเนอริสซึม วรรณคดีที่ถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของวรรณคดีแบบบาโรก คืองานที่มีอิทธิพลมาจากภาพเขียนของ จอห์น มิลตัน ชื่อ “สวรรค์หาย” (Paradise Lost) พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1667

  ถึงแม้ว่าศิลปะแบบร็อกโคโคจะเข้ามาแทนศิลปะแบบบาโรกเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะการตกแต่งภายใน ภาพเขียน หรือมัณฑนศิลป์ แต่ทางด้านสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมแบบบาโรก ก็ยังเป็นที่นิยมกันมาจนถึงสมัยศิลปะแบบ Neoclassics เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 

 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือปราสาทนีอาโพลิทันที่คาเซอร์ทา (Neapolitan palace of Caserta) ซึ่งไม่ได้เริ่มสร้างจนกระทั่งปี ค.ศ. 1752

   เมื่อพูดถึงจิตรกรรม การวางท่าของแบบในภาพเขียนแบบบาโรก จะกว้างกว่าแบบแมนเนอริสซึม เนื้อหาของภาพจะไม่กำกวมหรือมีเลศนัย หรือต้องตีความหมาย การวางท่าอาจจะเปรียบเทียบได้กับ ท่าทางอย่างโอ่อ่าแบบตัวละครโอเปร่า

   โอเปร่าเองก็ถือกันว่าเป็นศิลปะแบบบาโรกโดยแท้ ท่าบาโรกจะขึ้นอยู่กับความขัดแย้งในตัวแบบ โดยจะเห็นได้จากการวางไหล่และสะโพก จะวางบิดจากกัน การวางท่าอย่างขัดแย้งกันอย่างนี้ ทำให้ผู้ดูภาพหรือรูปปั้นมีความรู้สึกเหมือนตัวแบบกำลังจะเคลื่อนไหวออกจากรูป 

  ตัวอย่างของการวางที่ที่กล่าวมาจะเห็นได้ชัดจากรูปปั้นชื่อ Ecstasy of St. Teresa ที่วัดซานตามาเรีย เดลลา วิตอเรีย (Santa Maria della Vittoria) ที่กรุงโรม แกะจากหินอ่อนโดย จานลอเรนโซ เบร์นินี

   ศิลปะแบบบาโรกยุคหลังเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จะค่อนข้างขาดชีวิตจิตใจ และสีสรรค์จะไม่ฉูดฉาดเมื่อเทียบกับสมัยแรกๆ สถาปัตยกรรมสมัยนี้บางทีก็แยกออกมาเป็นสมัยปลายบาโรก อย่างเช่นงานของ คลอด เปอโรลด์ (Claude Perrault) 

   สมัยนี้เรียกกันว่านีโอพาลลาเดียน (neo-Palladian) งานที่เด่นๆ สมัยนี้ก็คืองานของวิลเลียม เคนท์ จิตรกรชาวอังกฤษ ที่เชี่ยวชาญทางการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ มีอิทธิพลโดยตรงมาจากเฟอร์นิเจอร์แบบบาโรกที่กรุงโรมและเมืองเจนัว

   ไฮริช เวิฟฟริน (Heinrich Wölfflin) ตีความหมายศิลปะแบบบาโรกว่าเป็นยุคที่รูปรีใช้เป็นศูนย์กลางขององค์ประกอบแทนวงกลม ศิลปะความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแทนความสมดุล ความมีสีสรรค์ ("painterly") กลายมาเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดส่วนหนื่ง

   นักประวัติศาสตร์ศิลปะโดยเฉพาะชาวนิกายโปรเตสแตนต์ เน้นว่าศิลปะแบบบาโรก เริ่มวิวัฒนาการขึ้นมาระหว่างที่ ทางคาธอลิกมีปฏิกิริยาต่อการการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) 

   และสันนิษฐานกันว่าศิลปะแบบบาโรกเป็นศิลปะที่ทำให้ สถาบันคาธอลิกรักษาเกียรติศักดิ์และยังมีหน้ามีตา หรืออาจจะได้ว่าเรียกว่าเป็นการปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิกก็ได้ อันนี้จะจริงหรือไม่ศิลปะแบบบาโรกก็เริ่มเจริญขึ้นมาที่กรุงโรม


การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)


      ยุโรปสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ  



    การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ 
(Renaissance) หมายถึงการ

เกิดใหม่ของการศึกษา การฟื้นฟู
อุดมคติ ศิลปะและวรรณกรรม
ของกรีกและโรมัน เป็นยุคเริ่มต้น
ของการแสวงหาสิทธิเสรีภาพและความคิดอันไร้ขอบเขตของ
มนุษย์ ของมนุษย์ที่เคยถูกจำกัด
โดยกฎเกณฑ์และข้อบังคับของ
คริสต์ศาสนา ยุคการฟื้นฟูศิลปะ
วิทยาการเริ่มต้นในราวคริสต์
ศตวรรษที่ 14 และสิ้นสุดลงใน
กึ่งกลางคริสต์ศตวรรษที่17  โดยถือว่าเป็นจุดเชื่อต่อของประวัติศาสตร์สมัยกลางและสมัยใหม่

   ยุคเรเนซองส์ (Renaissance )อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14-15 เป็นยุคฟุ้มเฟือยที่สุด หรูหราที่สุด กามรมณ์ที่สุด เป็นชื่อช่วงเวลาหรือยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุโรป หลังจากที่ได้ผ่านยุคกลางหรือยุคมืด ( Medieval Age ) ซึ่งกินระยะเวลายาวนานกว่าหนึ่งพันปี ตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 5 ถึง 15 การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรโรมัน, การเสื่อมของโรมและการเติบโตของคอนสแตนติโนเปิล, การแผ่ขยายอำนาจของอาณาจักรออตโตมัน (มุสลิม - เติร์ก)และสงครามครูเสดระหว่างคริสต์และมุสลิมเพื่อแย่งชิงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์, สงครามหนึ่งร้อยปีระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส, นักบุญ Joan of Arc, ความศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า, อำนาจที่มากขึ้นของฝ่ายศาสนจักร เรอเนซองส์ จึงเหมือนกับการกลับมาเกิดใหม่ของศิลปะและหรือยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการในยุโรป

   ชาวอิตาลีเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาศิลปะการประดิษฐ์ดอกไม้ ไฟขึ้นดอกไม้ไฟรูปแบบใหม่ ๆ ถือเป้นที่เกิดขึ้นในยุคนี้โดยมีการดัดแปลงเพิ่มโลหะกับถ่านไปในส่วนผสมที่ใช้ทำจรวดซึ่งเมื่อปล่อยขึ้นฟ้าก็จะเปล่งประกายแสง วัฒนธรรมของยุคโบราณเช่นกรีก รวมถึงทัศนะมนุษยนิยมซึ่งต่างจากในยุคกลางที่มีพระเจ้าเป็นศูนย์กลางของชีวิต นั่น
คือการกลับมาเน้นเรื่องของปัจเจกนิยม มนุษย์ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อพระเจ้าเท่านั้น ดังนั้นเขาจึงสามารถแสวงหาความสุขให้กับชีวิตบนโลกนี้ได้

   การมองโลกแบบนี้ทำให้เกิดเสรีภาพใหม่ในการพัฒนาตนเอง มีการพัฒนาการในเรื่องของศิลปะและสถาปัตยกรรม, วรรณคดี, ดนตรี, ปรัชญา, และวิทยาศาสตร์ มีการท้าทายอำนาจของศาสนจักรเพราะเริ่มมีทัศนะใหม่ที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกกับพระเจ้ากลับมีความสำคัญมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างเขากับคริสตจักรในฐานะที่เป็นองค์กร บุคคลสำคัญในเรื่องนี้คือ มาร์ติน ลูเธอร์ และมีศิลปินมากมายเกิดขึ้นในยุคนี้ เช่น ดาวินซี ไมเคิล แองเจโล บอตติเซลลี ราฟาเอล ติเตียน เกรกโก

   วัตถุประสงค์ของการสร้างผลงานจะต่างกับยุคกลางที่เน้นในเรื่อง
ของความศักดิ์สิทธิ์, ความเป็นศูนย์กลางของชีวิต มาเป็นงานที่เพื่อ
ตอบสนองต่ออารมณ์และความรู้สึกของศิลปินและผู้ชมงานมากขึ้นและขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวางทั้งประติมากรรม จิตรกร
รม และสถาปัตยกรรม การใช้วิธีและรูปแบบใหม่ในการวาดภาพเช่น 
เรื่องของ perspective, เน้นกายวิภาคที่เป็นจริงมากขึ้นและในยุค
เดียวกันนี้ก็เริ่มเป็นยุคเสื่อมของอาณาจักรเขมรหลังจากพระเจ้าชัยว
รมันที่เจ็ดผู้สร้างนครธมสิ้นพระชนม์ และการเติบโตขึ้นของอาณาจักร
สุโขทัยและอยุธยา จนในต้นศตวรรษที่ 15 อาณาจักรเขมรก็ตกอยู่
ภายใต้อำนาจของอยุธยาโดยสิ้นเชิง

แนวคิดสำคัญ   

 มนุษย์นิยม ธรรมชาตินิยม รวมกับแนวคิดของศาสนาตริสต์


ศิลปินคนสำคัญ

ศิลปินยุคที่มีความสามารถหลายด้านที่มีชื่อเสียงอย่างมากได้แก่ลีโอ
นาโด ดาวินชีไมเคิล แองเจลโล


สถาปัตยกรรม

วิหารเซนต์ปิเตอร์  และวิหารเซนต์ปอล

ประติมากรรม

ที่โดดเด่น ได้แก่ ผลงานของไมเคิล แองเจลโล คือ รูปสลักเดวิด  :   รูปชายหนุ่มเปลือยกายรูปสลักลาปิเอตา   
:   รูปพระแม่ประครองพระเยซู


จิตรกรรม

  • เริ่มมีการเขียนภาพสามมิติ ( Perspective )
  • ที่สำคัญได้แก่ ผลงานของ
  1. ไมเคิลแองเจลโล ได้แก่ ภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” ( The last judgement )
  2. ลีโอนาโด ดาร์วินชี ได้แก่ ภาพ “โมนาลิซา ” และ “อาหารมื้อสุดท้าย” (The last super)
  3. ราฟาเอล ได้แก่ ภาพพระแม่ พระบุตรและจอห์น แบบติสต์ แสดงความรักต่อแม่ที่มีต่อบุตร เป็นภาพเหมือนจริงที่มีชีวิตจิตใจ

  

วรรณกรรม

  1. เน้นแนวมนุษยนิยม ใช้ภาษาท้องถิ่นแทนภาษาละติน
  2. วรรณกรรมสำคัญ ได้แก่ 
  • เจ้าผู้ครองนคร ( The prince ) ของ นิโคไล มาเคียเวลลี บรรยายถึงศิลปะการปกครองของเจ้านคร
  • Utopia ของ โทมัสมอร์ กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย
  • คัมภีร์ไบเบิลใหม่ของ อีรัสมุส แห่งรอตเตอร์ดัม
  • บทละครของวิลเลี่ยม เชกสเปียร์ ได้แก่ โรมีโอและจูเลียต เวนิสวาณิช คิงเลียร์ แมคเบท ฝันคืนกลางฤดูร้อน เป็นต้น ซึ่งบทละคร
  • เหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ อุปนิสัย และการตัดสินใจของมนุษย์ในภาวการณ์ต่างๆกัน 

เทพเจ้ากรีก - โรมัน



เทพเจ้ากรีก-โรมัน แห่งยอดเขาโอลิมปัส




   เทพโอลิมปัส (The Olympians, Major gods) เป็นเทพที่อาศัยบนยอดเขาโอลิมปัส (Olympus) มีทั้งหมด 12 องค์ แต่ถ้านับอย่างถี่ถ้วนจะมีทั้งสิ้น 16 องค์ ดังนี้


เทพซุส (Zeus)1. ซุส (Zeus) (ซีอุส/จูปิเตอร์)เป็นราชาของบรรดาเทพเจ้าทั้งหลายและเหล่ามนุษย์บนโลก ซุสมีอาวุธเป็น Thunderbolt (อัศนีบาต) เทพซุสมีพี่น้องซึ่งเป็นเทพปกครองโลกร่วมกัน 5 องค์ ได้แก่ เทพโพไซดอน เทพีดีมิเทอร์ เทพีเฮร่า เทพฮาเดส และเทพีเฮสเทีย


2. โพไซดอน (Poseidon) เทพเจ้าแห่งท้องทะเล สัญลักษณ์ของพระองค์คือ “สามง่าม” หรือ “ตรีศูล” เทพผู้เขย่าพื้นพิภพ ผู้บัลดาลให้เกิดพายุ บิดาแห่งม้า

3. ดิมิเทอร์ (Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรรม การเก็บเกี่ยว

4. เฮรา (Hera) ราชินีแห่งสวรรค์ เป็นทั้งพี่สาวของซุสและเป็นภรรยาด้วย เฮร่าเป็นเทพีแห่งการให้กำเนิดทารก การสมรส สตรี การสมรสสัตว์ประจำพระองค์คือนกยูง


5. เฮสเทีย (Hestia) เทพีพรมจรรย์แห่งการครองเรือน เทพแห่งครอบครัว ในฐานะของเทพีผู้รักษาบ้าน พระนางเป็นผู้ที่สร้างบ้านขึ้นเป็นคนแรก วิหารของพระนางอยู่ที่กรุงโรม ซึ่งจะได้รับการบวงสรวงจากสาวพรหมจารี พระนางมีสัญลักษณ์เป็นไฟนิรันดร



6. แอรีส (Ares) เทพแห่งสงคราม บุตรของ ซูส กับ เฮร่า สัตว์ประจำพระองค์คือเหยี่ยวและสุนัขมังกรไฟ (บางตำราว่าเป็นนกแร้ง) เทพองค์นี้มีเทพที่เป็นน้องสาว ชื่อว่า อีริส เธอคือเทพีแห่งการวิวาท

7. อะพอลโล (Apollo) เทพเจ้าแห่งการทำนาย กีฬา การรักษาโรคภัย การดนตรี และ เป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ เป็นบุตรแห่ง ซีอุส และ เทพีเลโต (Leto) มีน้องสาวฝาแฝดชื่อ อาร์เทมิส (Artemis) อะพอลโล่มีต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์คือ ต้นลอเรล Laurel สัตว์ศักดิ์สิทธิ์คือนกกาเหว่าและห่าน เครื่องดนตรีประจำพระองค์คือพิณ วิหารศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์อยู่ที่เดลฟี่ Delphi ซึ่งที่นั่นจะมีนักบวชคอยบอกคำทำนายของพระองค์ให้แก่ประชาชนที่มาสักการบูชา

8. อาร์เทมีส (Artemis) เทพีแห่งดวงจันทร์และการล่าสัตว์ เป็นบุตรีของซูสและ เทพีเลโต เป็นน้องสาวแฝดของอะพอลโล่ พระองค์เป็นเทพีพรหมจรรย์องค์หนึ่งใน 3 องค์ ภาพที่ผู้คนเห็นอยู่เสมอๆ คือพระองค์จะถือธนูและศร มีสุนัขติดตาม สวมกระโปรงสั้น บางครั้งอาจเห็นเธออยู่บนรถศึกเทียมด้วยกวางขาว

9. เฮอร์มีส (Hermes) เทพแห่งการค้า การโจรกรรม และผู้ส่งสารของเหล่าทวยเทพ เป็นบุตรของ ซูส กับ เทพธิดาไมอา เทพไททัน พระองค์มักจะปรากฏกายในลักษณะสวมหมวกขอบกว้าง สวมรองเท้ามีปีก ถือคทาที่มีงูพัน ชื่อ คะดูเซียสซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการแพทย์


10. อาธีน่า (Athena)(อาเธน่า) หรืออีกนามหนึ่ง มิเนอร์วา Minerva เทพีแห่งความเฉลียวฉลาด และศิลปศาสตร์ทุกแขนงของกรีกรวมถึงศิลปะการต่อสู้ด้วย ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์คือต้นมะกอก
เทพีอธีน่า เป็นผู้ที่มอบมะกอกให้กับมนุษย์เป็นองค์แรก ทำให้เมือง Athens ได้ใช้ชื่อของพระองค์เป็นชื่อเมืองเพื่อเป็นเกียรติ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเธอได้แก่ นกฮูก

11. อะโฟรไดต์ (Aphrodite) เทพีแห่งความรักและความงาม เป็นบุตรีของ ซูส กับ เทพีไดโอนี่ (บางตำราว่าเกิดจากฟองคลื่น) สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเธอได้แก่นกกระจอก นกนางแอ่น ห่าน และเต่า ส่วนดอกไม้และผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระนางได้แก่กุหลาบ Myrtle และแอปเปิล กล่าวกันว่าพระนางเป็นเทพีผู้คุ้มครองเหล่าโสเภณีด้วย นางได้สมรสกับเฮเฟสทัส เทพแห่งการช่างที่ทีรูปร่างอัปลักษณ์ จึงได้มีสัมพันธ์ชู้สาวกับแอเรส หรือมาร์ส เทพแห่งสงคราม ต่อมาได้มีบุตรชื่อคิวปิด(อิรอส)เทพแห่งความรัก และบุตรคนเล็ก แอนติรอส เทพผู้บันดานให้เกิดความรักตอบ

12. เฮเฟสตัส (Hephaestus) เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง เป็นบุตรของ ซูส กับ เฮร่า (บางตำราว่าเป็นบุตรของ Hera ผู้เดียว) พระองค์เป็นเทพที่พิการและอัปลักษณ์
13. ไดโอนีซุส (Dionysus) เทพแห่งไวน์ การทำไวน์ และการเก็บเกี่ยวผลไม้ และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพแห่งละครอีกด้วย

14. เพอร์ซิโฟเน ธิดาของเทพีดีมิเทอร์ซึ่งถูกฮาเดสจับตัวไปเป็นภรรยาได้รับอนุญาตให้กลับขึ้นนมาบนโลกได้ปีละไม่กี่ครั้ง และการกลับขึ้นมาแต่ละครั้งก็คือการเปลี่ยนฤดูนั่นเอง

15. อีรอส (Eros) กามเทพ รู้จักกันดีในภาษาโรมันว่า คิวปิด Cupid เป็นบุตรแห่งเทพีความรัก อะโฟร์ไดต์และ เทพการศึกสงคราม แอเรส

16. เฮเดส (Hades) หรือฮาเดส (อีกนามหนึ่งคือ เฮดีส Hedes) ชื่อในภาษาโรมัน'พลูโต' เทพแห่งใต้พิภพยมโลก และเป็นเทพดูแลอัญมณีใต้ดิน ชาวกรีกบูชาพระองค์ก่อนเสมอที่จะลงมือทำเหมืองแร่


    ปัจจุบันได้จัดให้มีแค่ 12 องค์ เพราะ ตาม ตำราบางเล่มบอกไว้ว่าเทพรุ่นที่ 3 มีแค่ 12 องค์


ยุค Post Modern

   Post Modern

   ปัจจุบันนั้นมีการสร้างวาทกรรมหลายๆ อย่าง ให้เกิดขึ้นในสังคมเพื่อให้คนในสังคมได้คุ้นชินและซึมซับวาทกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาโดยการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือทั้งการพยายามสร้างวัฒนธรรมที่เป็นสากล post modern จึงได้ตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นอยู่จะเป็นการชี้ให้เห็นถึงการครอบงำทางสังคมผ่านกระบวนการต่าง ๆ ของโลกตะวันตก
   โพสต์ โมเดิร์น ก็คือการตั้งคำถามกับโมเดิร์น การที่มีคนใช้คำว่า โพสต์โมเดิร์นคุณประโยชน์ที่สำคัญก็คือ มันทำให้เราสามารถหวนกลับไปมองสังคมโมเดิร์นหรือพฤติกรรมที่ผ่านมาของมนุษย์ หรือความคิดความเชื่อของเราอย่างเป็นอิสระมากขึ้น เพราะถ้าเราไม่บอกว่า "โพสต์" โมเดิร์น เราก็จะยังจะอยู่ในกรอบของโมเดิร์น หรือยังให้มันครอบเราอยู่ ให้เรารู้สึกว่ายังจะต้องก้าวไปข้างหน้า ไปสู่ความเจริญ ยึดถือลัทธิความก้าวหน้า ซึ่งเป็นมิติที่ควบคู่กับ civilizing mission ของตะวันตก การบอกว่าโลกเป็น โพสต์ โมเดิร์น หรือเป็นโลกหลังสมัยใหม่ ในเชิงการเมืองนอกจากจะทำให้มนุษย์สามารถมองโลกสมัยใหม่อย่างอิสระ เพื่อวิพากษ์วิจารณ์มันได้ชัดเจนมากขึ้นมองมันถนัดขึ้น ในทางความรู้ก็ทำให้หลุดพ้นจากกรอบ สมมติฐานแบบโมเดิร์น อย่างเช่น ปรัชญาความเป็นสากล ปรัชญาความก้าวหน้า หรือปรัชญาประเภทที่ต้องมีแก่นแท้ มั่นคง ถาวร เป็นอมตะ ซึ่งเอามาจากคริสต์ศาสนา เรื่องวิญญาณ เรื่องพระเจ้า หรือจากกรีกที่เรียกว่าภาวะอุดมคติ เป็นต้น เพราะฉะนั้นตัวปรัชญาโพสต์ โมเดิร์น จึงเป็นตัวปรัชญาที่แย้งกับความเป็นสากล หรือความเป็นแก่นแท้ที่ขัดแย้งไม่ได้ ล้มล้างไม่ได้ ถกเถียงไม่ได้ 
   ปรัชญาแบบโพสต์โมเดิร์นไม่เชื่อว่า มนุษย์สามารถเข้าถึงความจริงได้โดยตรง กล่าวโดยนัยนี้ ปรัชญาแบบโพสต์โมเดิร์นยังมีระดับจิตต่ำกว่าปรัชญาของพุทธะ ที่มีประสบการณ์โดยตรงในการเข้าถึง "ความจริงสูงสุด" พวกโพสต์โมเดิร์นเห็นว่า มนุษย์ต้องมองต้องคิดผ่านแว่นของภาษา จึงมองว่า ความจริงเป็นแค่สิ่งที่เราสร้างขึ้นโดยระบบของภาษา 
   ในเมื่อพวกโพสต์โมเดิร์นมองว่า ความจริงเป็นสิ่งที่คนเราสร้างขึ้น โดยระบบภาษา โดยสำนวนโวหาร โดยการจูงใจ โดยการบิดเบือน โดยการหลอกลวงซ่อนเร้นภายใต้ความขลังของทฤษฎีหรือวาทกรรมแบบต่างๆ หรือภายใต้ระบบปรัชญาที่ซับซ้อนหรือด้วยภาพลักษณ์ที่ง่ายๆ ก็ได้ เพราะฉะนั้นพวกโพสต์โมเดิร์นจึงนิยมมองโลกข้างนอกทุกๆ อย่างเป็นเสมือนพื้นที่ว่างที่เราจะใส่ความคิด ความเชื่อของเราลงไปยังไงก็ได้ คือเติมตัวความหมาย (signifier) ลงไปได้ เพราะฉะนั้นในสายตาของพวกโพสต์โมเดิร์น โลกทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองของมนุษย์จึงเป็นเสมือนพื้นที่ว่างที่มีการช่วงชิงกันเติมความหมาย ความคิดเห็นลงไป การเมืองในยุคโพสต์โมเดิร์นอย่างในยุคปัจจุบัน จึงเป็นการเมืองของการช่วงชิงพื้นที่ด้านต่างๆ 
   ปรัชญาแบบโพสต์โมเดิร์น ไม่เชื่อว่ามีความจริงเพียงหนึ่งเดียวอยู่แล้ว แต่เห็นว่า "ความจริง" เป็นสิ่งที่มองได้หลายมุมมอง และควรผสมผสานมุมมองที่หลากหลายต่างๆ เข้าด้วยกัน
   ปรัชญาแบบโพสต์โมเดิร์น ปฏิเสธอำนาจของกรอบ ระเบียบ โครงสร้าง รูปแบบจารีตเดิม และมุ่งแสวงหาการคิดนอกกรอบและแหวกแนวอยู่ตลอด
   นักคิดโพสต์โมเดิร์นไม่เชื่อในโลกความจริงที่อยู่นอกเหนือไปจากโลกของภาษา ซึ่งถ้าหากว่าสิ่งนอกเหนือต่าง ๆ มีอยู่จริงเขาก็ไม่สนใจที่จะต้องไปถกเถียงกัน เพราะว่าถกเถียงไม่ก็ไม่มีข้อสรุปว่าสิ่งไหนถูกผิด เนื่องจากทุกสิ่งถูกการมองโดยโลกของภาษา ซึ่งมีลูกเล่นแพรวพราวทั้งตัวภาษาเองและตัวผู้ใช้ภาษา พวกเขาจึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องของภาษา วาทกรรม ตัวบท ซึ่งมีนักคิดคนสำคัญคือ


Jacques Derrida
   Jacques Derrida เกิดในอัลจีเรียเขาเสนอวิธีการ deconstruct คือการแสดงให้เห็นว่าเราสามรถถอดรื้อความเห็น ของทฤษฎีหรือวาทกรมใด ๆ ก็ได้ เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึงจุดหละหลวมของมัน ซึ่งภาษานั้นก็สามารถที่จะสร้างความหมายลื่นไหลไปได้เรื่อยๆ เขาจริงถือเป็นภารกิจของเขที่จะถอดรื้อระบบความคิดที่อ้างตัวเองเป็นตัวแทนของความจริง
   Michel Foucault เขามุ่งถอดรื้อความคิด ทฤษฎี วาทกรรมที่อ้างตนเองว่าเป็นความรู้ที่เป็นกลางเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ เช่น ความรู้ทางการแพทย์ ทางสังคม ทางจิตวิทยา ฯลฯ เขาถอดรื้อให้เห็นว่าความรู้จำนวนมาก รวมทั้งสถาบันต่างๆ ได้ถูสร้างขึ้นมาอย่างมีเงื่อนไขเพื่อปกปิดอำพรางบางอย่าง โดยเฉพาะประโยชน์ทางอำนาจ เพื่อปิดกั้นความรู้และความจริงอื่น ๆ อันเป็นการกดดัน บีบบังคับ บิดเบือน ละเลย หลงลืม อำนาจ หรือการดำรงอยู่ของส่วนอื่น ๆ เช่น ละเลยความสำคัญของจิตใต้สำนึกของร่างกายของคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เช่น เกย์ เลสเบี้ยน เป็นต้น
   Jacques Lacan (ค.ศ. 1901-1981) งานของเขาชี้ให้เห็นว่าภาษากำหนดรูปร่างความเป็นไปของจิตใต้สำนึก อารมณ์ปรารถนาของเราตั้งแต่ยังเป็นทารก โลกของภาษาคือโลกของสัญลักษณ์ อำนาจ การครอบงำตั้งแต่วัยทารกจึงทำให้อัต ลักษณ์ของเราแยกจากภาษาไม่ออก



ลักษณะศิลปะ Post modern 

1. การปฏิเสธศูนย์กลาง ซึ่งก็คือ การปฏิเสธอำนาจครอบงำ เน้นชายขอบซอกมุม เพื่อปลดเปลื้องการครอบงำทางเวลา เทศะและอัตลักษณ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ดังปรากฏในสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่เลิกเน้นศูนย์กลาง 


2. การปฏิเสธความเป็นเอกภาพ หรือ องค์รวม ภาพเขียนหรือสถาปัตยกรรมจึงไม่จำเป็นต้องจบสมบูรณ์ อาจเป็นหลายเรื่องซ่อนเร้นกัน


3. Post modern คัดค้านโครงสร้าง ระเบียบ ลำดับ ไม่ยึดติดกับโครงสร้างเพราะถือได้ว่าเป็นแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม


4. Post modern ปฏิเสธจุดเริ่มต้น จึงปฏิเสธประวัติศาสตร์แต่โหยหาอดีต เนื่องจากความไม่มั่นคงทางอัตลักษณ์ อดีตของพวกเขาไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำลายประวัติศาสตร์เพราะมันถูกนำมาอยู่ในปัจจุบันหรือหลุดไปจากบริบทอย่างสิ้นเชิง


ความคิดโพสต์โมเดิร์นเป็นทั้งการวิพากษ์และการตั้งคำถามที่มีต่อโลกแบบโมเดิร์นของตะวันตก ซึ่งมองว่าการสร้างสังคมสมัยใหม่ของโลกตะวันตกที่ได้กำเนินมานั้นไม่ได้พัฒนาความสุข การหลุดพ้น หรือชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผล อย่างที่กล่าวอ้างกัน เป็นเพียงการสร้างวาทกรรมผ่านภาษา เพียงเพื่อครอบงำสังคมอื่นเพื่อชิงความได้เปรียบในหลายปัจจัย




ที่มา:คุณปิยวัฒน์   นามโฮง http://www.9dern.com/rsa/view.php?id=920